อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม

Slide #1
Slide #2
Slide #3
Slide #4
Slide #5
Slide #6

อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม

SSI กับ อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

เอสเอสไอยึดมั่นแสดงว่า ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม เป็นสิ่งสำคัญที่จะนำมาซึ่งความสำเร็จขององค์กร
เอสเอสไอใส่ใจต่อความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้เกี่ยวข้องทุกคน ไม่ว่าจะเป็นพนักงาน ครอบครัวของพนักงาน รวมทั้งชุมชมโดยรอบ เอสเอสไอจึงนำระบบการจัดการอาชีวอนามัย และความปลอดภัยตามมาตรฐาน มอก. 18001 มาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อความมีสุขอนามัยที่ดี และความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการดำเนินกิจกรรมใดๆ ของบริษัท และเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชน

เอสเอสไอได้เริ่มดำเนินการวางรากฐานระบบการจัดการ ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย โดยจัดตั้งคณะกรรมการความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อกำหนดนโยบายวัตถุประสงค์ แผนงานและเป้าหมายด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัย กำหนดมาตรการความปลอดภัย รวมทั้งได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการ และคณะทำงานด้าน อาชีวอนามัยและความปลอดภัย เพื่อทำหน้าที่นำนโยบายไปสู่แนวปฏิบัติ จำนวน 5 ชุด ประกอบด้วย

  • คณะอนุกรรมการส่งเสริมกิจกรรม 5 ส และคณะทำงานย่อย
  • คณะอนุกรรมการป้องกันอัคคีภัย และกู้ภัยฉุกเฉิน
  • คณะอนุกรรมการความปลอดภัยและผู้รับเหมา
  • คณะกรรมการความปลอดภัยประจำฝ่าย
  • ทีมสารวัตรความปลอดภัย สำหรับตรวจสอบความปลอดภัยในงานซ่อมบำรุง

พร้อมทั้งกำหนด นโยบายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ นำไปสู่การวางแผนดำเนินการและการปฏิบัติ เช่น การประเมินความเสี่ยงกฎหมาย และข้อกำหนดอื่นๆ สำหรับการเตรียมจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เป็นต้นเพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด และสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยกับพนักงานเอสเอสไอจัดให้มีมาตรการ และกิจกรรมรณรงค์และส่งเสริมความปลอดภัย ได้แก่

  • กิจกรรม 5 ส.
  • กำหนดระเบียบ กฎ ข้อบังคับต่างๆ ให้เหมาะสมกับสภาพงานเพื่อความปลอดภั
  • ติดตามตรวจสอบ เสนอแนะแนวทางให้การปฏิบัติ
  • งานดำเนินไปอย่างปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ
  • ฝึกอบรมพนักงานเกี่ยวกับข้อกำหนดต่างๆ
  • สร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยแก่พนักงาน
  • จัดทำแผนฉุกเฉินในกรณีเกิดไฟไหม้ รวมทั้งฝึกซ้อมตามแผนทุก 6 เดือ
  • ประสานงานกับหน่วยงานภายนอก เพื่อช่วยเหลือกรณีโรงงานไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้
  • จัดทำรายงานอุบัติเหตุและจัดทำสถิติอุบัติเหตุ
  • มีหน่วยงานพยาบาล ซึ่งมีแพทย์และพยาบาลประจำ
  • ตรวจสมรรถภาพการทำงานปอด และการได้ยินก่อนเข้าทำงานและประจำปี
  • ติดตั้ง Eyewasher และ Shower
  • จัดเตรียมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล

นอกจากนั้น เอสเอสไอยังเข้าร่วมโครงการโรงงานสีขาว ด้วยตระหนักถึงความรุนแรงของปัญหาสารเสพติด และมุ่งหวังที่จะรักษาทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าให้รอดพ้นจากพิษสารเสพติด ทำให้ได้รับรางวัลภาคเอกชนดีเด่น ประจำปี 2544 โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด จากคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามยาเสพติดภาคกลาง และรางวัลโครงการโรงงานสีขาว จากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน รวมทั้งในปัจจุบัน เอสเอสไอยังเป็นวิทยากรด้านการป้องกัน และแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดให้กับชุมชนโรงเรียน และโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ด้วย

เอสเอสไอได้พัฒนาและปรับปรุงระบบการจัดการ อาชีวอนามัย และความปลอดภัยอยู่เสมอ ส่งผลให้ ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบการจัดการ อาชีวอนามัยและความปลอดภัยสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สถิติอุบัติเหตุที่ลดลงอย่างต่อเนื่องทุกปี